แหล่งเรียนรู้ » สถานีรถไฟบ้านปิน

สถานีรถไฟบ้านปิน

9 มีนาคม 2019
755   0

สถานีรถไฟบ้านปิน

สถานีรถไฟบ้านปิน
Ban pin station-long district1751.JPG

สถานีรถไฟบ้านปิน
ข้อมูลสถานี
ที่ตั้ง 203 ตำบลบ้านปินอำเภอลองจังหวัดแพร่54150
เส้นทาง ทางรถไฟสายเหนือ
รูปแบบสถานี ระดับดิน
จำนวนชั้น 2
ชานชาลา 3
ระบบอาณัติสัญญาณ สายลวด หางปลา ไม่มีสัญญาณเตือน ใช้ห่วงทางสะดวก
ที่จอดรถ หลังสถานี
ข้อมูลอื่น ๆ
เปิดใช้งาน 15 มิถุนายน2457พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
การเชื่อมต่อ บุคคลพิการและผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้สามารถเข้าถึงได้
รหัส 1172
เจ้าของ การรถไฟแห่งประเทศไทย
พื้นที่ชำระเงิน ช่องจำหน่ายตั๋วทุกสถานีรถไฟ
บ้านปิน สถานีรถไฟ
ปริมาณการเดินทาง
ผู้โดยสาร ไม่ต่ำกว่า 50 คน /วัน
จำนวนขบวน 10 ขบวนที่จอดสถานีนี้
บริการ
ดี
ที่ตั้ง
https://www.google.co.th/maps/place/สถานีรถไฟบ้านปิน
บ้านปิน
Ban Pin
กิโลเมตรที่ 563.86
ห้วยแม่ต้า
Huai Mae Ta
-9.44 กม.
ผาคัน
Pha Khan
+14.6 กม.
ดูเพิ่ม : รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ

สถานีรถไฟบ้านปิน เป็นสถานีรถไฟประจำตำบลบ้านปิน และอำเภอลอง อยู่ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ เป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวในจังหวัดแพร่ที่ระดับสถานีรถไฟ เป็นระดับ 2 มีจำนวนราง 5 ราง เป็นทางหลัก 1 ราง ทางหลีก 3 ราง ทางตัน 1 ราง รางติดชานชาลา 2 ทาง โดยเป็นสถานีรองจากสถานีรถไฟเด่นชัย ที่เป็นสถานีประจำอำเภอเด่นชัย และจังหวัดแพร่ ซึ่งสถานนีรถไฟบ้านปินอยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 563.86 กิโลเมตร ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 203 ถนนเทศบาลตำบลบ้านปิน บ้านใหม่ หมู่ที่4 ตำบลบ้านปิน อำเภอลองจังหวัดแพร่ รหัสไปรษณีย์ 54150 ทางเหนือของสถานี มีอุโมงค์ห้วยแม่ลาน ความยาว 130.20 เมตร ระหว่างกิโลเมตรที่ 574.04 ถึง 574.17อยู่ระหว่างสถานีบ้านปิน กับสถานีผาคัน

สถานีรถไฟบ้านปิน อยู่ระหว่างสถานีห้วยแม่ต้า หรือที่หยุดรถไฟห้วยแม่ต้า หมู่ที่7 บ้านห้วยแม่ต้า ตำบลบ้านปินอำเภอลองจังหวัดแพร่ กับสถานีรถไฟผาคัน หมู่ที่10 บ้านผาคัน ตำบลบ้านปินอำเภอลองจังหวัดแพร่

ข้อมูลจำเพาะ[แก้]

  • ประเภทเส้นทาง : ทางรถไฟทางไกลสายเหนือ
  • รหัส  : 1172
  • ชื่อภาษาไทย  : บ้านปิน
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Ban Pin
  • ชื่อย่อภาษาไทย : บป.
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : BNP.
  • ชั้นสถานี  : สถานีรถไฟชั้น 2
  • ระบบอาณัติสัญญาณ : หางปลา ไม่มีสัญญาณเตือน ใช้ห่วงทางสะดวก
  • พิกัดที่ตั้ง  : หลังสถานีมีแม่น้ำห้วยแม่ลานและติดตัวตำบลบ้านปิน ห่างจากถนน 1023 สายแพร่ – ลอง 1 กิโลเมตร
  • ที่อยู่  : 203 หมู่ที่4 ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150
  • ขบวนรถ/วัน:จอด 10 ขบวน รถด่วนพิเศษดีเซลราง รถด่วนพิเศษ รถด่วน รถเร็ว ท้องถิ่น และรถสินค้า/น้ำมัน
  • ปริมาณผู้โดยสาร/วัน : ไม่ต่ำกว่า 50 คน
  • สถานีก่อนหน้า : ที่หยุดรถห้วยแม่ต้า
  • สถานีก่อนหน้า(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : สถานีรถไฟแก่งหลวง
  • สถานีถัดไป : สถานีรถไฟผาคัน
  • ห่างจากสถานีกรุงเทพ : 563.86 กิโลเมตร

เอกลักษณ์เฉพาะของสถานีรถไฟบ้านปิน[แก้]

  1. อาคารสถานีรถไฟสไตล์เฟรมเฮ้าส์ บาวาเรีย ซึ่งมีแห่งเดียวในประเทศไทย
  2. จะมีหอประแจสถานี และหอเติมน้ำรถจักรไอน้ำที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว
  3. ในปลายชานชลาด้านทิศเหนือจะมีทางข้ามทางรถไฟ เพื่อเข้าชุมชน
  4. ในปลายชานชลาด้านทิศใต้ไป 100 เมตร จะมีสะพานข้ามห้วยแม่ลาน ซึ่งห้วยจะโค้งไปหลังสถานีรถไฟบ้านปิน
  5. ทางทิศใต้ของสถานีรถไฟบ้านปินจะมีเนินเขาที่ขบวนรถไฟจากกรุงเทพลงเนินก่อนถึงสถานีบ้านปิน (คล้ายกับสถานีรถไฟปางต้นผึ้งจังหวัดอุตรดิตถ์)
  6. ทางทิศเหนือและทิศใต้ของสถานีรถไฟจะมีภูเขากั้นขวางอยู่
  7. ด้านทิศเหนือของสถานีรถไฟบ้านปิน ไป 1 กิโลเมตร จะมีทางโค้งประมาณ 15 องศา หลังข้ามทางข้ามถนน1023 แพร่-ลองไปแล้ว ซึ่งก่อนที่ขบวนรถจากเชียงใหม่จะถึงสถานีรถไฟบ้านปินผู้โดยสารจะสามารถมองขบวนรถโค้งมาได้ด้วยตาเปล่า

ข้อมูลประวัติการสร้างสถานี และรูปแบบสถานีรถไฟบ้านปิน[แก้]

สถานีรถไฟบ้านปิน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 เปิดใช้งานเดินรถครั้งแรก วันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2457 หรือคริสต์ศักราช 1914 เป็นช่วงการก่อสร้างเส้นทางและทดลองเดินรถในช่วงที่ 9 ของการสร้างทางรถไฟสายเหนือ ระหว่าง ห้วยแม่ต้า-บ้านปิน ระยะทาง 13 กิโลเมตร โดยการรถไฟหลวงแห่งสยามที่มีพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการและมีนายช่างชาวเยอรมัน ชื่อ เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง

สถานีบ้านปิน เป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวของไทยที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบบาวาเรียนเฟรมเฮาส์ หรือแบบโครงไม้ อันเป็นแบบที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในแคว้นบาวาเรียประเทศเยอรมนี ผสมกับสถาปัตยกรรมแบบไทยคือเรือนปั้นหยา ด้วยต้องการแสดงอิทธิพลให้กับชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวตะวันตกได้รับรู้ อันเนื่องจากในยุคสมัยนั้นยังคงเป็นยุคล่าอาณานิคมอยู่ ตัวสถานีเป็นสีเหลืองอมส้ม

โดยหน้าสถานีจะมีหอประแจ เนื้องจากการสื่อสารสมัยนั้นยังไม่ค่อยดีข้างสถานีจะมีหอ แต่ปัจจุบันเลิกใช้งานแล้ว และข้างสถานีจะมีหอเติมน้ำสำหรับรถจักรไอน้ำ แต่ได้เลิกใช้งานแล้ว ปัจจุบันก็ยังเป็นรูปแบบตามเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยการตกแต่งเพิ่มสีสันใหม่

ขบวนรถโดยสาร[แก้]

เที่ยวไปมีจำนวน 6 ขบวน หยุดสถานี 5 ขบวน

เที่ยวกลับมีจำนวน 6 ขบวน หยุดสถานี 5 ขบวน

รวมมี 12 ขบวน หยุดสถานี 10 ขบวน

แก้ไขล่าสุดเมื่อ 7 สิงหาคม 2561

เที่ยวไป[แก้]

มีจำนวน 6 ขบวน หยุดสถานี 5 ขบวน

ขบวนรถ ต้นทาง บ้านปิน ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ดพ7 กรุงเทพ 08.30 15.57 เชียงใหม่ 19.30 ขบวนที่ 9 เดิม
(ก่อน พ.ศ. 2555)
ท407 นครสวรรค์ 05.00 10.50 เชียงใหม่ 14.35
ร109 กรุงเทพ 13.45 00.17 เชียงใหม่ 04.05
ดพ13 กรุงเทพ 19.35 04.53 เชียงใหม่ 08.40
ด51 กรุงเทพ 22.00 07.56 เชียงใหม่ 12.10
ดพ9 กรุงเทพ 18.10 ไม่จอดสถานนี้ เชียงใหม่ 07.15 ทดแทนขบวนที่ 1
(อดีตเป็นรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศ)
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

เทียวกลับ[แก้]

มีจำนวน 6 ขบวน หยุดสถานี 5 ขบวน

ขบวนรถ ต้นทาง บ้านปิน ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ดพ8 เชียงใหม่ 08.50 12.09 กรุงเทพ 19.25 ขบวนที่ 12 เดิม
(ก่อน พ.ศ 2555)[1]
ท408 เชียงใหม่ 09.30 13.42 นครสวรรค์ 19.55
ร102 เชียงใหม่ 06.30 10.11 กรุงเทพ 21.10
ดพ14 เชียงใหม่ 17.00 21.50 กรุงเทพ 06.15
ด52 เชียงใหม่ 15.30 19.48 กรุงเทพ 05.25
ดพ10 เชียงใหม่ 18.00 ไม่จอดสถานีนี้ กรุงเทพ 06.50 ทดแทนขบวนที่ 2
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

สิ่งก่อสร้างบริเวณรอบๆสถานี[แก้]

  1. อาคารสถานีรถไฟ (รวมห้องประแจปัจจุบัน)
  2. หอประแจสถานีเดิม (อยู่ตรงข้ามอาคารสถานี ติดทางหลัก )
  3. หอเติมน้ำรถจักรไอน้ำในอดีต (อยู่ทางฝั่งใต้สถานี)
  4. ห้องน้ำสถานี (อยู่ทางฝั่งเหนือสถานี)
  5. อาคารร้านค้าในอดีต (อยู่ทางฝั่งใต้สถานี) ปัจจุบันเป็นห้องประชุมรับรอง
  6. บ้านพักพนักงานตู้รถไฟ (อยู่ทางฝั่งเหนือสถานี) และบ้านพักพนักงานอาคารไม้ (หลังสถานี)
  7. อาคารที่ทำการนายตรวจทางบ้านปิน (อยู่ทางฝั่งเหนือสถานี)
  8. โรงซ่อมรถไฟในอดีต ปัจจุบันเหลือแต่เสาฐาน (อยู่ตรงทาง4นับจากตัวสถานี)
  9. อาคารเครื่องกันตัดผ่านเสมอระดับทาง (อยู่ติดเสาเข้าเขตใน ถนนแพร่-ลอง ทางฝั่งเหนือ)
  10. ระบบอานัติสัญญาณ
  11. สะพานข้ามห้วยแม่ลาน (อยู่ทางฝั่งเหนือสถานี)

ภาพถ่ายประกอบ[แก้]

ภาพของผู้คนและสถานีรถไฟในสมัยก่อน

ภาพของผู้คนและสถานีรถไฟในสมัยก่อน

ภาพของผู้คนและสถานีรถไฟในสมัยก่อนประมาณปี2508-2515

สถานีรถไฟในช่วงฤดูฝน

ภาพสะถานีและประแจทางด้านทิศเหนือ

ขบวนรถอุตราวิถี 9 ผ่านสถานีบ้านปินล้าช้ากว่ากำหนดเนื้องจากเกิดอุบัติเหตุที่จังหวัดนครสวรรค์

สถานีรถไฟยามเย็น

ภาพขบวนรถชานเมือง 408 ขณะรับส่งผู้โดยสาร ถ่ายบนที่หอเก็บน้ำโบราณ

ด้านหลังอาคารสถานี

ขอขอบคุณเจ้าของภาพทุกท่านนะครับ

อ้างอิง[แก้]

  • หน้า ๐๒๖-๐๓๙, สถานีรถไฟบ้านปิน ประตูสู่เมืองลอง. “เที่ยวเก๋าไหม ไป “ลอง” กัน” โดย จริยา ชูช่วย. อนุสาร อ.ส.ท.ปีที่ ๕๘ ฉบับที่ ๗: กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
  • ข้อมูลวิกิพีเดีย สถานีรถไฟสายเหนือ
  • ข้อมูลการรถไฟแห่งประเทศไทย
  • ผู้คนที่อยู่อาศัย
  • หนังสือ ถ้าวันหนึ่ง ฉันจะนั่งรถไฟ หน้า124-127 โดยกองโฆษณาและส่งเสริมการท่องเที่ยวศูนย์ประชาสัมพันธ์
  • วราสารรถไฟสัมพันธ์
  • Facebook https://web.facebook.com/pr.railway/

แหล่งที่มา   https://th.wikipedia.org